Contents
บ้านโมเดิร์นสีขาว

บ้านโมเดิร์นสีขาว บ้านโมเดิร์นปัจจุบันรูปร่างรูปทรงมีหลากหลาย สร้างตามรสนิยมและไลฟ์สไตล์ แต่บ้านแบบที่กำลังเป็นเทรนด์มาแรงคงแบบบ้านที่จัดพื้นที่ใช้สอยได้ลื่นไหล เปิดโปร่งอยู่ข้างใน ใส่สวนเอาไว้กลางบ้าน เพื่อดึงความเป็นธรรมชาติเข้ามาไว้ในที่อยู่อาศัยแบบเป็นผืนเดียวกัน ไม่ต้องแบ่งแยก แบบบ้านชั้นเดียว ญี่ปุ่น
เหมือนกับบ้านหลังนี้ที่บ้านไอเดียนำมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งสร้างอยู่ในประเทศอินเดีย ภายนอกเส้นสายสะอาดตา ในกล่องที่ซ้อนทับกันอยู่นั้นต่อเชื่อมพื้นที่เอาไว้อย่างน่าสนใจ มีสวน และแทรกจุดรับแสงเอาไว้เป็นจังหวะ ทำให้บ้านเรียบ ๆ อยู่ได้แบบสงบแต่ไม่ไร้สีสัน read more : assetdata.land
บ้านสีขาวเป็นกล่องซ้อนกันขึ้นไปนี้ อยู่ใน Belgaum ประเทศอินเดีย เจ้าของบ้านเป็นคู่หนุ่มสาวที่มีลูก 2 คน มาจากเมือง Mangalore ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลทางตอนใต้ของอินเดียได้ เข้ามาหาสถาปนิกเพื่อให้ออกแบบบ้านของพวกเขา บทสรุปคือ ต้องการบ้านร่วมสมัยที่ดูสะอาดและทันสมัย
แนวความคิดที่ของสถาปนิกประมวลจากเจ้าของบ้านทำให้มองเห็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่บริสุทธิ์มากขึ้น ด้วยการตัดออกจากสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปเหลือแต่เส้นสายที่เรียบง่าย บ้าน Padival ที่เป็นกลุ่มกล่องทรงเรขาคณิตจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคนในบ้าน
ในเมือง Mangalore บ้านแบบดั้งเดิมจะมีลานบ้านเป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน สถาปนิกจึงเลือกที่จะสะท้อนความทรงจำเดิม โดยการเติมรายละเอียดที่อยู่อาศัยที่คุ้นเคยรูปแบบใหม่ในบริบทของเมือง ด้วยวิธีการจัดพื้นที่ว่างภายในทำเป็นลาน หรือคอร์ทกลางบ้าน ตามฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานแบบสมัยใหม่ แต่ไม่ทิ้งกลิ่นอายวัฒนธรรมแบบเดิม ๆโรงแรมรีสอร์ทภูเก็ต

โถงรับแขกด้านหน้านำไปสู่ลานสวนและพื้นที่ใช้สอยในส่วนอื่น ๆ ที่ต่อเชื่อมกัน ในส่วนนี้ความสูงหนึ่งชั้นครึ่งเปิดโปร่งเพื่อให้ล้อไปกับคอร์ทกลางบ้านที่เจาะโถงสูงเช่นกัน จึงดูเหมือนมีสวนโล่ง ๆ กลางแจ้ง (ที่อยู่ในร่ม) อยู่กลางบ้าน สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปูพื้นสร้างความต่อเนื่องของพื้นที่นั่งเล่นและรับประทานอาหารกับคอร์ทได้อย่างไหลลื่นลงตัว
การสร้างอาคารที่เป็นโพรงด้านในทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่ได้สะดวก ระบายอากาศได้ดี บ้านมีพื้นที่ให้หายใจ คนอยู่ได้สบายมากขึ้น โดยไม่ต้องออกไปด้านนอก พื้นที่ว่างออกสู่ท้องฟ้าที่จัดทำคอร์ทกลางบ้าน เหมือนเก็บเอาธรรมชาติ ต้นไม้ ขอบฟ้าที่ไม่มีขอบเขตสิ้นสุดเข้ามาไว้ภายในแทรกซึมสร้างความสดชื่นให้บ้านซึมซับได้ทุกอณู
สีสันจากวัตถุดิบพื้นเมืองให้โทนสีที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เครื่องทองเหลืองและเครื่งแก้วที่ดูหรูหราตามแบบฉบับอินเดีย ช่วยเติมความเป็นตัวของตัวเองให้บ้านได้อย่างเต็มเปี่ยม
ช่องแสงสกายไลท์จากเพดานส่องตรงเข้ามาสู่คอร์ทกลางบ้าน จำลองบรรยากาศสวนกลางแจ้งเข้าสู่ภายในเราจะไม่รู้เลยว่าแสงอาทิตย์มหัศจรรย์แค่ไหน จนกระทั่งห้องถูกสร้างขึ้นมา ประโยคนี้เป็นแนวคิดของLouis Kahn สถาปนิกชาวยิว ที่อพยพมาจาก Estonia ในรัสเซีย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้สถาปนิกที่สร้างอาคารหลังนี้

เพราะเขาเน้นความโดดเด่นของลักษณะมุม กำแพง ที่ว่างที่สร้างความเป็นธรรมชาติในอาคาร ไม่เพียงเท่านั้น เขายังให้ความสำคัญกับอำนาจของแสงธรรมชาติในอาคาร “the gift of light” ซึ่งไม่ใช่มาจากการออกแบบโครงสร้างอาคารให้เปิดหน้าต่างได้กว้างขวางเท่าไหร่ แต่เป็นการคำนวณตำแหน่งให้แสงสอดแทรกตัวเข้าสู่ภายในอาคาร และกระจายไปยังจุดต่างๆ ที่บ้านต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแสงที่มาจากผนังด้านข้าง หรือมาจากบนเพดาน
รูปทรงของอาคารนี้ ประกอบขึ้นมาจากวัสดุหลัก ๆ คือคอนกรีตและไม้ที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งมันคงปนความอบอุ่น ส่วนต่างๆ ของบ้านแสดงเอกลักษณ์ออกมาในรูปของ สี เส้น รูปทรง แสง ที่ความสมดุลสองนัยคือ ความสงบ (Silence) และความสว่าง ( Light)
บ้านหลังคาจั่วสีขาวเรียบแต่เด่น

บ้านสองชั้นดีไซน์โมเดิร์นสีขาวโดดเด่นสะดุดตาจากบ้านใกล้เคียงหลังนี้สร้างที่ยางซาน ประเทศเกาหลีใต้ มีพื้นที่ 219.90 (ประมาณ 55 ตารางวา) พื้นที่ใช้สอย 164 ตารางเมตร ด้วยพื้นที่ที่ไม่มาก แต่เจ้าของต้องการบ้านที่มีความยืดหยุ่น มีที่ว่างให้เด็กได้วิ่งเล่นทำกิจกรรม
สถาปนิกจึงทำองค์ประกอบทั้งหมดประกอบด้วยอาคาร 2 หลังที่เชื่อมต่อกันด้วยห้องกระจก ที่ว่างทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่ชั้นล่าง และมีสะพานตรงกลางที่ชั้นบน ความตั้งใจของนักออกแบบคือ การแบ่งสัดส่วนใช้งานระหว่างอาคารออกตามฟังก์ชันโซนส่วนตัวและสาธารณะ เพื่อให้ใช้งานได้เต็มที่และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้มากที่สุดโดยไม่ทำให้บ้านดูอึดอัด
ด้านซ้ายของบ้านจะเป็นห้องใช้งานอเนกประสงค์ ห้องพักรับแขกและพื้นที่จัดปาร์ตี้ ซึ่งด้านหลังจะติดกับสวน ส่วนอาคารด้านขวาเป็นโรงรถ ครัว และห้องนั่งเล่น ชั้นบนเป็นพื้นที่ห้องนอน ห้องใต้หลังคาห้องนั่งเล่นสามารถขยายเป็นห้องเลี้ยงเด็ก ห้องอ่านหนังสือและห้องรับรองแขกได้ โรงรถในปัจจุบันปรับเปลี่ยนเป็นห้อง work shop สำหรับทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบได้
คอร์ทเล็ก ๆ ให้ต้นไม้โตไปกับบ้าน

สถาปนิกให้คำนิยามหลังคาจั่วสีขาว หมายถึง เยาวชนที่เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ และยังเป็นสีพื้นฐานที่ให้ศักยภาพที่ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนโรงรถจะเห็นว่าผนังเป็นคอนกรีตดิบ ๆ สีเทา ซึ่งสถาปนิกทำระแนงช่วยบังแสงเอาไว้ และข้าง ๆ เว้นช่องว่างเล็ก ๆ เอาไว้จัดสวนให้ดูเป็นส่วนเดียวกันกับบ้าน ต้นไม้ที่ปลูกนี้อายุเท่าเด็ก ๆ ดังนั้นพื้นที่นี้จึงกลายเป็นสถานที่ที่เติบโตไปพร้อมกับสมาชิกในบ้าน
บ้านมี 2 ชั้นแถมห้องใต้หลังคาให้อีก 1 ชั้น เป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้งานพื้นที่ขึ้นไปในแนวตั้ง เผื่อจำนวนสมาชิกที่มากขึ้นหรือการเพิ่มฟังก์ชันใช้งานอื่น ๆ เข้ามา ภายในยังไม่ได้ตกแต่งอะไรมาก ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ มีเพียงการจัดแปลนห้องและพื้นที่ใช้งานส่วนต่าง ๆ ให้โล่งดูมีความเชื่อมต่อ ผนังและเพดานใช้สีขาวเป็นหลักตัดด้วยพื้นที่ปูด้วยวัสดุลายไม้มีเข้ม ทำให้พื้นโดดเด่นขึ้นมากจากสีขาว
อีกองค์ประกอบของบ้านที่น่าสนใจคือ ช่องแสงและช่องลม ประเทศเกาหลีมีสภาพอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว บ้านโบราณจึงมักทำด้วยดินและมีช่องแสงน้อยเพื่อเก็บอุณหภูมิในบ้านให้อุ่น แต่หากขาดแสงจะทำให้ดูบรรยากาศอึมครึมและชื้น สถาปนิกจึงแก้ไขด้วยการวางตำแหน่งกระจายอยู่ทั่วผนัง ทำให้รับแสงเข้าสู่ภายในได้ตามต้องการ และยังสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกในมุมมองที่แตกต่างด้วย
ห้องนอนใต้หลังคาที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ บ้านช่องเปิด ที่ทำหน้าที่ช่วยระบายอากาศด้วย บริเวณหลังคามี skylight ทำให้โซนนี้ไม่ขาดแสง เป็นการลบข้อด้อยของห้องใต้หลังคาได้อย่างดี
ดาดฟ้าที่มองจากด้านนอกจะเห็นว่าเหมือนหลังคาถูกเจาะให้เป็นช่อง ส่วนนี้ปูพื้นด้วยไม้สำหรับใช้ภายนอกที่ทนทานสภาพอากาศและลานกรวดช่วยรับและซับน้ำฝน ซึ่งต้องมีการออกแบบการรองรับน้ำฝน ระบบกันชื้น เอาไว้ให้เรียบร้อย

ด้านหลังบ้านจะมีประตูกระจกเรียงยาวเปิดออกเชื่อมต่อคอร์ทยาร์ดที่ค่อนข้างกว้างให้เด็ก ๆ วิ่งเล่นได้สบาย ที่ว่างที่แทรกระหว่างอาคารเหล่านี้ทำให้บ้านมีช่องทางให้หายใจ บ้านไม่ถูกบีบอัดด้วยอาคารจนรู้สึกอึดอัด เหนือที่ว่างจะเห็นแนวกรอบคอนกรีตที่ช่วยกำหนดขอบเขตของสนามขนานไปกับรั้วทำให้ดูเป็นส่วนเดียวกัน
บ้านสไตล์โมเดิร์นแบบหลังคาจั่ว ที่ออกแบบให้ผนังและหลังคาติดกันเป็นผืนเดียว ไม่มีชายคา ไม่มีกันสาด อาจจะดูสวยงามแบบมินิมอลน้อย ๆ ไม่มีรายละเอียดส่วนเกินให้ดูรกตา แต่ถ้านำมาสร้างในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราก็อาจต้องแลกมาด้วยความทรุดโทรมของผนังที่เร็วขึ้น เพราะเมืองไทยมีฤดูมรสุม ลมแรง ฝนแรง เมื่อไม่มีกันสาดผนังจะรับความชื้นได้มากขึ้น จึงเปรอะเปื้อนและเกิดคราบราดำได้เร็ว หากต้องการสร้างจิง ๆ ควรปรึกษาสถาปนิกเพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน เช่น วิธีการซ่อนรางน้ำฝน การใช้กรุผนังด้วยวัสดุทนชื้นภายนอกทับผนังคอนกรีต หรือการเคลือบพื้นผิวอาคาร เป็นต้น