แบบบ้าน 2 ชั้น

วันนี้ homesalephuket.sale ขอนำเสนอ แบบบ้าน 2 ชั้น บ้านฟาซาดช่องลม ผนังเปิด 90 องศา เห็นเส้นขอบฟ้าชัดเจน คุณเคยจินตนาการถึงบ้านที่สร้างมาเพื่อพบกับช่วงเวลาดีๆ ของชีวิตบ้างไหม? มานึกภาพตามกันว่าได้ทานอาหารเช้า พร้อมเครื่องดื่มร้อนๆ ในวันที่อากาศหนาวเย็น และแดดค่อยๆ ทำให้รู้สึกอบอุ่นขึ้น หรือจะเป็นการเล่นน้ำในสระเย็นๆ
กับปาร์ตี้ปิ้งย่างกับเพื่อนๆ พร้อมหน้าในวันฤดูร้อน ออกมานอนที่ระเบียงสักคืนดูดาวที่กำลังเปล่งประกายระยิบระยับ ก่อนอำลาวันไปอย่างสุขใจ เป็นใครก็คงหลงรักบ้านตัวเองแน่ๆ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ที่ ออกแบบในไดนามิกที่แตกต่างจากบ้านหลังอื่น เพื่อให้เจ้าของได้ช่วงเวลาต่างๆ อย่างสนุกสนานรู้สึกได้ถึงความเปิดกว้างสัมผัสธรรมชาติได้ในทุกพื้นที่
บ้าน Itu ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านสำหรับพักผ่อนในฤดูร้อน ที่ Itu เมืองเล็ก ๆ ใกล้เซาเปาโล ประเทศบราซิล ในพื้นที่ที่ยังสร้างบ้านอยู่ไม่กี่หลัง สถาปนิกออกแบบด้วยสีและเส้นสายที่เรียบง่ายสะอาดตา อาคาร 3 ชั้นนี้จึงมีพื้นที่ระบายอากาศที่ดีและสว่างสดใส ชั้นหลักเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหารเย็น และห้องครัว โดยมีช่องระบายอากาศผ่าน cobogós ที่ด้านหน้าและประตูกระจกขนาดใหญ่ที่สามารถเปิดได้ทั้งหมด ที่ชั้นบน 3 ห้องนอนเชื่อมต่อกันผ่านห้องโถงใหญ่ ห้องโถงกลาง ที่ดินใช้ประโยชน์จากทางลาดขนาดใหญ่ ที่ทำให้มองเห็นเส้นขอบฟ้าได้อย่างสมบูรณ์

แม้บ้านขางเคียงจะยังไม่ค่อยมี แต่ด้วยที่ตั้งของบ้านติดถนนใหญ่ที่ผู้คนผ่านไปมา ด้านหน้าอาคารของ Itu House จึงประกอบด้วยพื้นที่สีขาวขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างปิดด้านบน ส่วนชั้นล่างก่อผนัง cobogo (ผนังบล็อกช่องลมแบบบราซิล) ที่บังคอร์ทยาร์ดมีต้น Ype ต้นบราซิลโผล่ขึ้นมาบนหลังคา และพื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ซึ่งช่องรูพรุนเล็ก ๆ เหล่านี้ช่วยระบายอากาศสำหรับภายในบ้าน ให้แสงธรรมชาติที่ไม่รุนแรง เพราะช่องทึบสลับโปร่งทำหน้าที่กรองแสงและพรางสายตาไปพร้อมกัน
จากภายนอกที่เน้นอาคารสีขาวตัดเส้นสายตาด้วยสีดำบริเวณกรอบประตูหน้าต่าง เข้ามาสู่ภายในเราจะเห็นการสร้างความต่อเนื่องทางสายตาด้วยการเลือกวัสดุง่ายๆ สีไม่กี่เฉด โดยใช้พื้นผิวสีขาวเป็นหลัก เสริมด้วยงานไม้ย้อมสีอมส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นปนสดชื่นแบบฤดูร้อน บวกกับความดิบของพื้นผิวปูนเปลือยขัดมัน และเพดานที่โชว์พื้นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นร่องยาว เพิ่มความดิบเท่ แต่ก็มีประโยชน์จากการได้พื้นที่เพดานที่สูงขึ้นกว่าการติดฝ้าเพดานกว่า 10 เซนติเมตร
สภาพแวดล้อมชั้นบนล้อมรอบจะด้วยระเบียงขนาดใหญ่ เพื่อให้มีพื้นที่ออกมาใช้ชีวิตแบบกึ่งกลางแจ้งและชมวิวโดยไม่ต้องกงวลเรื่องสภาพอากาศ ด้านข้างมีทางเดินที่ค่อย ๆ ไหลลงตามทางลาดผ่านสวนไปถึงชั้นล่าง ซึ่งจะมีพื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นปิ้งย่างบาร์บีคิว วิ่งเล่นสวน และแหวกหว่ายในสระว่ายน้ำเย็น นอกจากนี้ ช่องว่างขนาดใหญ่ใต้พื้นดินยังถูกใช้เป็นพื้นที่ทางเทคนิคของบ้าน อาทิ ที่เก็บแทงค์น้ำไว้สำหรับเก็บน้ำฝนไว้ใช้รดน้ำสวน
ความลื่นไหลของบ้านเป็นสิ่งที่ทำให้ที่นี่น่าอยู่ขึ้น สิ่งที่ช่วยสร้างการเชื่อมต่อพื้นที่นอกจากการออกแบบแปลน open plan ที่ลดการใช้ผนังที่ไม่จำเป็น สร้างความต่อเนื่องจากมุมนั่งเล่นมาที่ห้องทานข้าวและครัวแล้ว ยังมีประตูกระจกบานใหญ่ที่เปิดออดได้แบบชนมุม ทำให้บ้านเหมือนไม่มีผนัง ไม่มีเสา หรือกรอบประตูหน้าต่างบดบังวิสัยทัซน์ ช่วยให้ทุกคนในบ้านเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของเส้นขอบฟ้าได้ตลอดเวลา และเมื่อเปิดออกก็จะเสริมการระบายอากาศแบบข้ามที่ปล่อยให้อากาศภายนอกไหลผ่านทั่วทั้งบ้านให้ความเย็นสบายสูงสุด

บ้านใหม่ๆ ที่ต้องการวิสัยทัศน์ของวิว แสง และลมสูงสุดแบบไม่มีอุปสรรคมากั้นบัง จะใช้วิธีการออกแบบผนังกระจกให้สามารถปิดหรือเปิดออกชนมุมได้สองด้านแบบ 90 องศา ซึ่งทำให้บ้านดูเป็นอิสระมากกว่าบ้านแบบก่ออิฐหรือปิดทึบ ซึ่งวิธีทำนั้นก็ไม่ยาก เพียงแต่ต้องแจ้งสถาปนิกตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบว่าเราไม่ต้องการเสาต้นมุม เพื่อให้เปิดได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งปกติจะต้องมีเพื่อรับน้ำหนัก หากหล่อเสาไปแล้ว ก่อผนังเรียบร้อย แต่อยากทำผนังเปิดชนมุมจะไม่สามารถทำได้ เพราะอาจทำให้กระทบบ้านทั้งหลัง
บ้านคอนกรีตที่ยังเท่ เสริมทัพความอบอุ่นด้วยเส้นโค้งและไม้
ต้องยอมรับว่า “บ้าน” ก็เป็นหนึ่งในเรื่องราวความเป็นไปของโลกที่เปลี่ยนไปตามเทรนด์ ซึ่งอาจจะมีสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา หรือวนไปที่สิ่งเดิมๆ ที่ผ่านการตีความใหม่ๆ ทั้งนี้ไม่ว่ายุคสมัยจะผ่านไปอย่างไร “คอนกรีต” ก็จะยังเป็นหนึ่งในวัสดุที่อยู่คู่บ้านเสมอไม่เคยหายไป ในช่วงหนึ่งการโชว์พื้นผิวแบบสัจจะวัสดุไม่ทาสี ไม่ฉาบทับ เป็นที่นิยมมาก เราจึงได้เห็นบ้านปูนเปลือย บ้านปูนขัดมัน ดิบ ๆ เท่ ๆ กันมาก แม้ว่าช่วงนี้บ้านสไตล์นี้จะซาลงไป แต่เราเชื่อว่าด้วยเอกลักษณ์ของพื้นผิว จะยังคงมีคนเทใจให้บ้านคอนกรีตเปลือย เพียงแต่อาจจะนำมาจับคู่วัสดุ และนำเสนอเส้นสาย มุมองแบบอื่น ๆ ที่เราอาจไม่ค่อยเห็น เหมือนบ้านหลังนี้ครับบ้านจัดสรร
บ้านสองชั้นที่เห็นอยุ่นี้ เป็นส่วนต่ เติมของกระท่อมเล็ก ๆ ที่สร้างในปี 1882 ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกด้านในของซิดนีย์ ได้รับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เพื่อให้สอดรับกับลไฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบสวนและแสง จึงออกแบบให้เป็นบ้านประตูกระจก ลดการใช้ผนังภายในเพื่อสร้างความเชื่อมต่อ ส่งผลให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางซึ่งเต็มไปด้วยแสงสว่างสำหรับการใช้ชีวิตแบบครอบครัวร่วมสมัย ในเลย์เอาต์รูปตัว L ที่ขยายออกมาต่อเนื่องสู่กลางแจ้งอย่างลื่นไหล เพื่อให้เจ้าของมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ในวัสดุสไตล์เท่ ๆ อย่างคอนกรีตที่ถูกลดทอนความกระด้างลงด้วยเส้นโค้งและงานไม้
ห้องนั่งเล่นเปิดประตูได้กว้างเชื่อมต่อสนามหญ้า สะดุดตากับม้านั่งในสวนทำจากคอนกรีตทรงโค้งวางเบาะสีเหลืองสดใสน่านั่ง ตั้งอยู่ภายในสวนที่มีภูมิทัศน์สวยงามล้อมรอบด้วยต้นมะกอกและสวนแนวตั้งเขียวๆ มีเตาบาร์บีคิวพร้อมรับปาร์ตี้ในวันพิเศษ

ความทันสมัยที่ละเอียดอ่อนเป็นคุณลักษณะคลาสสิกที่วางไว้ในบ้านอย่างประณีต สถาปนิกให้ความสำคัญกับการใช้หินแกรนิตและหินควอตซ์เป็นวัสดุตกแต่งหลัก สร้างความโดดเด่นให้กับห้อง เส้นหินแกรนิตและควอตซ์ประดับสถาปัตยกรรมที่ทำให้ภายในดูหรูหราบ้านจัดสรร ท่ามกลางความดิบกระด้างของผนังคอนกรีตโชว์กริดไลน์และรูน็อตเท่ๆ ยังมีช่องแสง skylight รับแสงเป็นแนวยาวตลอดผนัง และยังมีงานไม้เข้ามาผสมผสาน ทำให้พื้นที่นั่งเล่นเต็มไปด้วยความมีมิติ สีของไม้ เพดาน รวมกับสีของหิน และลวดลายของพรมยังช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความเบาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ถัดจากห้องนั่งเล่นจะมีสเต็ปบันไดนำขึ้นไปสู่ห้องครัว ที่ตกแต่งด้วยโทนสีขาวโดดเด่น พื้นที่มีแสงธรรมชาติที่ส่องกระจายมาจากสกายไลท์ด้านบนที่เจาะเป็นช่องว่างเหนือไอส์แลนด์ตัวใหญ่ท็อปสวย ชวนให้เข้ามาใช้งานปรุงอาหารเตรียมอาหารบ่อยๆ หรือจะจัดเลี้ยงต้อนรับการมาของเพื่อน ๆ ก็ไม่มีปัญหา เพราะครัวนอกจากมีฟังก์ชันครบ พร้อม พื้นที่จัดเก็บเป็นระเบียบในผนังแล้ว วัสดุท็อปไอส์แลนด์ยังสวยเป็นพิเศษ สามารถใช้ครัวเป็นจุดโชว์ของบ้านได้เลย
การออกแบบที่ใช้ประโยชน์จากลักษณะที่ดินที่มีความต่างระดับ ทำให้ภายในเปลี่ยนฟังก์ชันอย่างค่อยเป็นค่อยไป บนสเต็ปบันไดที่แยกระหว่างห้องนั่งเล่นไปครัว จากครัวไปห้องทานข้าว ซึ่งค่อย ๆ ไหลลงมาแบบเล่นระดับ โดยไม่ต้องมีผนังก่อทึบกั้น เราก็สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้งานที่แตกต่างได้ง่ายๆ ไม่ทำให้บ้านดูแคบหรือรู้สึกอึดอัด
บันไดทำจากไม้ระแนงมีสีเดียวกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ในบ้าน การออกแบบบันไดไม่สูงชันเกินไปและมีราวจับ ทำให้การขึ้นสูงปลอดภัย

ห้องนอนของเด็กถูกเน้นด้วยการออกแบบโคมไฟ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดาวเคราะห์ในกาแล็กซี่ ยิ่งทำให้ห้องน่ารักน่าสนุก เป็นการออกแบบที่นอกจากจะเข้าใจพื้นที่แล้ว ยังใส่ใจทุกรายละเอียดเพื่อให้ตอบโจทย์ความชอบของผู้อยู่อาศัยได้ครบทุกคน
บ้านที่มีพื้นที่ดินไม่เท่ากันหรือเป็นเนินหรือไม่ราบเรียบ ไม่ใช่ข้อจำกัดเสมอไปหากลองหาข้อดีของพื้นที่เจอ เช่น อาจจะปรับพื้นที่ภายในให้เป็นบ้านเล่นระดับ ที่มีลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน การเล่นระดับจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้านที่ค่อนข้างเล็ก เพราะใช้การเหลื่อมของพื้นที่เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด ระยะทางในการเดินขึ้นแต่ละชั้นก็ไม่ได้สูงมากเท่าบันไดบ้านปกติ นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน นอกจากใช้ประโยชน์ได้ดีแล้วยังสนุกสนานมากขึ้บ้านจัดสรร
1. เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่สร้างบ้านจำกัด: บ้านสองชั้นนับว่าตอบโจทย์อย่างยิ่ง หากคุณมีที่ดินขนาดเล็กแต่มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ สำหรับสมาชิกในครอบครัว แม้งบประมาณเริ่มต้นก่อสร้างจะสูงกว่าบ้านชั้นเดียว แต่บ้านของคุณจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มอีกเป็นเท่าตัว จากขนาดที่ดินที่ใช้ก่อสร้างเท่า ๆ กัน ที่สำคัญคือ บ้านสองชั้นจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินมากกว่าบ้านชั้นเดียว
2. เหมาะกับครอบครัวขนากลาง – ใหญ่: บ้านสองชั้นมีพื้นที่ใช้สอยมากและมีการแบ่งชั้นชัดเจน จึงสามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน แม้สมาชิกครอบครัวจะมีหลายคน แต่ก็อยู่อาศัยได้โดยไม่อึดอัด
3. การแบ่งสัดส่วนห้อง: สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนก็ให้ความเป็นส่วนตัวอย่างสบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสภาพแวดล้อม เสียง ฝุ่น และอากาศถ่ายเทได้ดี จึงควรออกแบบเป็นห้องนอน ห้องทำงานส่วนตัว และหากบ้านไหนมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย ดูเรียบร้อยหรือสะอาดกว่าบ้านชั้นเดียว
4 ปลอดภัย: บ้านสองชั้นสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้ายได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องระมัดระวัง โดยติดตั้งรั้ว และปิดบ้านให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
ข้อเสียของบ้านสองชั้น
1. ไม่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์: บ้านสองชั้นส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์ต้องลำบากและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีที่ทำห้องนอนไว้ชั้นล่างสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพักอยู่ชั้นบนของบ้าน เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลืออาจไม่สะดวกนัก สำหรับสมาชิกที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแล้วนอนอยู่ห้องนอนชั้นบน
การจะสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้นนั้น แน่นอนว่า… ต้องดูการใช้งานของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน สมาชิกภายในบ้าน พื้นที่ที่จะก่อสร้าง รวมไปถึงงบประมาณ และเมื่อทุกท่านตัดสินใจเลือกบ้านที่ “ฟังก์ชั่น” เหมาะกับการใช้ชีวิตของตัวเองได้แล้ว น้องพีดี ก็ขอให้สนุกกับการ “ดีไซน์” บ้านให้สวยถูกใจนะครับ ก่อนจากกัน น้องพีดี ขอส่งท้ายไอเดียแบบบ้านชั้นเดียวและแบบบ้านสองชั้นสวย ๆ จากศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ รับรองได้ว่าสวยถูกใจแน่นอน! คลิ๊กที่นี่